เมนู

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [2. สังฆาทิเสสกัณฑ์] 8. ปฐมทุฎฐโทสสิกขาบท บทภาชนีย์

ชื่อว่า ที่ไม่มีมูล คือไม่ได้เห็น ไม่ได้ยิน ไม่ได้นึกสงสัย
คำว่า ด้วยอาบัติปาราชิก คือ ด้วยอาบัติปาราชิก 4 ข้อใดข้อหนึ่ง
คำว่า ใส่ความ ได้แก่ โจทเอง หรือสั่งให้ผู้อื่นโจท
คำว่า ทำอย่างไรจึงจะให้ภิกษุนั้นพ้นจากพรหมจรรย์นี้ได้ ความว่า ให้พ้น
จากความเป็นภิกษุ ให้พ้นจากสมณธรรม ให้พ้นจากศีลขันธ์ ให้พ้นจากคุณคือตบะ
คำว่า ครั้นสมัยต่อจากนั้น ความว่า ล่วงขณะ ลยะ ครู่ที่ภิกษุถูกใส่ความไป
แล้ว
คำว่า อันผู้ใดผู้หนึ่งโจทก็ตาม คือ จะมีผู้เชื่อถือตามเรื่องที่ทำให้ภิกษุนั้นถูก
ใส่ความก็ตาม
คำว่า ไม่โจทก็ตาม คือ ไม่มีใครๆ กล่าวถึงภิกษุนั้น
ชื่อว่า อธิกรณ์ ได้แก่ อธิกรณ์ 4 อย่าง คือ วิวาทาธิกรณ์ อนุวาทาธิกรณ์
อาปัตตาธิกรณ์ และกิจจาธิกรณ์
คำว่า และภิกษุยอมรับผิด ความว่า ภิกษุนั้นยอมรับว่า “ข้าพเจ้าพูดคำไร้
ประโยชน์ พูดเท็จ พูดไม่จริง ไม่รู้จึงพูด”
คำว่า เป็นสังฆาทิเสส ความว่า สำหรับอาบัตินั้น สงฆ์เท่านั้นให้ปริวาส ฯลฯ
เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสเรียกว่า “เป็นสังฆาทิเสส”

บทภาชนีย์
ไม่เห็น โจทว่าได้เห็น

[387] ภิกษุผู้โจทก์ไม่ได้เห็นภิกษุต้องอาบัติปาราชิก ถ้าโจทภิกษุนั้นว่า
“ข้าพเจ้าเห็นท่านต้องอาบัติปาราชิกแล้ว ท่านไม่เป็นสมณะ ไม่เป็นเชื้อสายศากยบุตร
ท่านร่วมอุโบสถ ปวารณาหรือสังฆกรรมไม่ได้” ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด

ไม่ได้ยิน โจทว่าได้ยิน

ภิกษุผู้โจทก์ไม่ได้ยินว่า ภิกษุต้องอาบัติปาราชิกแล้ว ถ้าโจทภิกษุนั้นว่า
“ข้าพเจ้าได้ยินว่าท่านต้องอาบัติปาราชิกแล้ว ท่านไม่เป็นสมณะ ไม่เป็นเชื้อสาย